วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

โดเรมอน






โดราเอมอน


ตัวละครโดราเอมอนพร้อมลายเซ็นเจ้าของผลงาน
โดราเอมอน หรือ โดเรมอน (「ドラえもん」, Dora'emon, – โดะระเอะมง?) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่องโดราเอมอนเป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคต ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 22เกิดวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2655 (ค.ศ. 2112) ลักษณะตัวอ้วนกลมสีฟ้า (เมื่อแรกเกิดมามีสีเหลือง) ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูแทะ มีหน้าที่เป็นหุ่นยนต์พี่เลี้ยงซึ่งคนที่ซื้อโดราเอมอนมาคือเซวาชิเหลนชายของโนบิตะ วันหนึ่งเซวาชิเกิดอยากรู้สาเหตุที่ฐานะทางบ้านยากจน จึงได้กลับไปในอดีตด้วยไทม์แมชชีน จึงได้รู้ว่าโนบิตะ (ผู้เป็นปู่ทวด) เป็นตัวต้นเหตุ เซวาชิจึงได้ตัดสินใจให้โดราเอมอนย้อนเวลาไปคอยช่วยเหลือดูแลเวลาโนบิตะโดนแกล้งโดยใช้ของวิเศษที่หยิบจากกระเป๋าสี่มิติ






แรงบันดาลใจ



ตัวละครโดราเอมอนนั้น ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น




ต้นกำเนิด




โดราเอมอนสมัยตัวสีเหลืองมีหู

ตัวละครโดราเอมอนสมัยตัวสีฟ้าไม่มีหู
โดราเอมอนถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊ง ขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิในวัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก (จากตอนพิเศษ "กำเนิดโดราเอมอน ปี 2112") แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้าน
แต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122 ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอทราบว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่ว่าโดราเอมอนหยิบผิดกินยาโศกเศร้าแทน ทำให้โศกเศร้ากว่าเดิม และเริ่มร้องไห้ไม่หยุด จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่าที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดและกลัวหนูเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรัก
นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดรามี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วน จึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ

ข้อมูลจำเพาะของโดราเอมอน

เป็นความตั้งใจของผู้วาดการ์ตูนที่ใช้ตัวเลข 3-9-12 กับตัวละครนี้ โดราเอมอนจึงมีอะไรหลายอย่างกี่ยวกับตัวเลขชุดนี้
มีน้ำหนัก 129.3 กิโลกรัม
ความสูง 129.3 เซนติเมตร (แต่เวลานั่ง จะเหลือ 100 เซนติเมตร)
กระโดดได้สูง 129.3 เซนติเมตร (เวลาเจอหนู)
มีพละกำลัง 129.3 แรงม้า
วัดรอบหัว รอบอก รอบเอวได้ 129.3 เซนติเมตร
วิ่งปกติในระยะ 50 เมตรใช้เวลา 15 วินาที แต่ถ้าเจอหนูจะวิ่งได้เร็วถึง 129.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วันที่ผลิตคือ ปีที่ 12 เดือน 9 วันที่ 3 (เรียงแบบปฏิทินญี่ปุ่น)

ไม่มีความคิดเห็น: