วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

" ทะเลใน " แอ่งมรกต หมู่เกาะอ่างทอง


สายลมพัดพากลิ่นไอแห่งธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของหมู่เกาะน้อยใหญ่ รายล้อมด้วยท้องทะเลสีคราม หาดทรายขาว บ้างเป็นหาดก้อนกรวดหิน มีโขดหินประดับสูงเด่นด้วยหน้าผาที่ถูกรายล้อมด้วยน้ำทะเลสีเขียวมรกตสดใสสะอาด มองเห็นฝูงปลาสีสวยคลอเคลียอยู่กับดอกไม้น้ำปะการังที่หลากสีสัน ธรรมชาติได้บรรจงแต่งแต้มสีสันเป็นผลงานอันแสนมหัศจรรย์ อันน่าตื่นตาตื่นใจ เป็นความทรงจำที่ไม่มีวันลืม
หมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ 42 เกาะ ที่งามสง่าอยู่กลางท้องทะเลสีมรกตหนึ่งเดียวในอ่าวไทย สามารถทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น อาบแดด เล่นน้ำ ไต่ผาสูงชัน พายเรือแคนูและคายัค หรือจะดำน้ำดูปะการัง ดูฝูงปลานานาชนิด
เกาะวัวตาหลับเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของหมู่เกาะทั้งหมดที่อยู่ท่ามกลางน้ำทะเลสีมรกตสดใสและบริเวณเกาะวัวตาหลับยังเป็นแหล่งชมค่างแว่นถิ่นใต้และเป็นที่ตั้งของถ้ำบัวโบกที่มีหินงอกหินย้อยตามธรรมชาติที่งดงาม
เกาะสามเส้า จุดดูปะการังและฝูงปลานานาชนิดที่สีสันงดงามมาก ท้องทะเลและหาดทรายสีขาวสะอาดตา เกาะสามเส้าธรรมชาติได้สลักเสลาให้ภูผาเป็นสะพานหินธรรมชาติขนาดใหญ่ ยื่นลงไปในทะเลอย่างสวยงามน่าอัศจรรย์ อีกทั้งเกาะวัวกันตัง เกาะหินดับ เกาะท้ายเพลา ต่างมีความงามของธรรมชาติจะเสกสรรปั้นแต่ง และที่ขาดไม่ได้ที่เกาะแม่เกาะซึ่งเป็นเกาะที่มีความมหัศจรรย์ของ "ทะเลใน" เป็นแอ่งน้ำสีมรกตสดใสโอบล้อมไปด้วยเทือกเขาเขียวขจี มีอุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมต่อกับท้องทะเลภายนอก อีกด้วยหาดทรายขาวบริสุทธิ์ น้ำทะเลใสสะอาด มีฝูงปลาเป็นเพื่อนดำน้ำแวกว่ายดูปะการังหลากสีสัน

การเดินทาง
จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4142 ไปถึงท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก นั่งเรือต่อไปเกาะสมุยจะมีเรือออกตลอดทั้งวัน

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง 145/1 ถนนตลาดล่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 โทร. 0-7728-6025

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550


En économie, l'avantage comparatif est le concept principal de la théorie traditionnelle du commerce international. Il a été approché par Robert Torrens en 1815, et démontré pour la première fois par l’économiste britannique David Ricardo en 1817 dans ses Principes de l’économie politique et de l’impôt. La théorie associée à l’avantage comparatif explique que, dans un contexte de libre-échange, chaque pays, s’il se spécialise dans la production pour laquelle il dispose de la productivité la plus forte ou la moins faible, comparativement à ses partenaires, accroîtra sa richesse nationale. Cette production est celle pour laquelle il détient un « avantage comparatif ». La théorie de Ricardo, exposée dans Des principes de l'économie politique et de l'impôt affirme que même la nation la plus désavantagée accroîtra sa richesse, si elle opte pour le libre-échange.